3355 จำนวนผู้เข้าชม |
จากรายงานของ World Business Council for Sustainable Development หรือ WBCSD ได้ระบุว่ามีวัสดุทั้งหมด 8 ชนิดที่ต้องขับเคลื่อนเรื่อง Circular Economy โดยเร็ว เช่น เหล็ก อลูมิเนียม พลาสติก แก้ว ไม้ เป็นต้น
สำหรับ “พลาสติก” คงปฎิเสธไม่ได้ว่าเป็นวัสดุพิเศษที่นำไปใช้ผลิตสินค้าได้หลากหลายอุตสาหกรรมทั้งในสินค้าประเภทคงทนเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าใช้ครั้งเดียวทิ้ง อาทิ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ หากไม่มีวัสดุพลาสติก อาจส่งผลให้มนุษย์เราใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ้นเปลืองมากขึ้น ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทำให้ความสะดวก สบายในชีวิตลดลงด้วย อย่างไรก็ดี การนำพลาสติกมาใช้ในสินค้าประเภทใช้ ครั้งเดียวทิ้ง หรือ Single-Use เช่น ถุงหูหิ้ว ขวดนำ้ หลอดดูดนำ้ ช้อนส้อม เป็นต้น ก็กำลังเป็นที่ถกเถียงว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด เนื่องจากมีอายุการใช้งานสั้น แต่ต้องใช้เวลาย่อยสลายนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อการจัดเก็บหลังการใช้งานยังไม่เป็นระบบ จึงทำให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกในทะเล และกลายเป็นประเด็นสำคัญของโลกตามที่เราเห็นข่าวสัตว์นำ้ตายอยู่เป็นระยะๆ การนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy มาปรับใช้กับโมเดลธุรกิจ จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในขณะนี้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่จำเป็นต้องขับเคลื่อนร่วมกันทั้งระบบจึงจะประสบความสำเร็จได้ โดยทั้งผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค ต้องร่วมกันปรับเปลี่ยน เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ได้แก่
Make (ผลิต): ผลิตสินค้าโดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด เริ่มตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการใช้นวัตกรรมที่ช่วยลดการใชhทรัพยากร
Use(ใช้): ใช้สินค้านั้น ๆ อย่างคุ้มค่า เต็มประสิทธิภาพหลังจากการใช้งานแล้วต้องทิ้งอย่างถูกต้องเพื่อให้วัสดุเหล่านั้นนำมาใช้ใหม่ได้
Return(วนกลับ): นำวัสดุกลับมาใช้ในกระบวนการผลิตใหม่ หรือนำไปสร้างประโยชน์อื่น ๆ เพื่อให้คุ้มค่าสูงสุด
Circular Economy ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
อย่างไรก็ดี แนวคิด Circular Economy จะเกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรมได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เช่น ภาครัฐในหลายประเทศสนับสนุนเรื่องนี้ โดยบรรจุเข้าไปในนโยบายการบริหารประเทศ ส่วนภาคเอกชนไม่ว่าจะเป็นองค์กรใหญ่หรือแม้แต่ SME สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบที่น่าสนใจ บ้างก็มีการพัฒนา
เทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนมารองรับ และที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ Circular Economy เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนก็คือ “ผู้บริโภค” อย่างเรา ๆ นี่เอง ที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคโดยไม่มองว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป ส่งเสริมและสนับสนุนการ “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” ได้แก่ การนำทรัพยากรที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซำ้ให้มากที่สุด และเมื่อไม่สามารถใช้งานต่อได้แล้ว ก่อนจะทิ้งควรจัดการแยกตามประเภทของวัสดุ เช่น พลาสติก กระดาษ โลหะ เป็นต้น และทิ้งให้ถูกที่ ลงถังขยะให้ถูกต้อง ทั้งหมดนี้จะช่วยทำให้การนำขยะกลับมาสร้างประโยชน์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นแล้วไม่ว่าคุณจะอยู่ในภาคส่วนใด เชื่อเถอะว่าคุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างให้โลกใบนี้มีอนาคตที่ยั่งยืน เป็นโลกที่มีความสมดุล และสมบูรณ์ตราบนานเท่านาน
แหล่งที่มา : www.allaroundplastics.com
rco.on.ca